กล่องข้อความ: 		7-50100-001-244  		  ชื่อพื้นเมือง	:  อินทนิลน้ำ, ตะแบกดำ  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Lagerstroemia speciosa Pers.  ชื่อวงศ์	:  LYTHRACEAE  ชื่อสามัญ	:  Queen's Flower  ประโยชน์	:  ใบ ชงดื่มแก้เบาหวาน  ขับปัสสาวะ  เปลือก  แก้ท้องเสีย  รากรักษาแผลในปาก

บริเวณที่พบ : างหอประชุม 1 , หน้าบ้านพักครูใหญ่
ลักษณะพิเศษของพืช : ไม้ดอกประดับ
ชื่ออื่น : ฉ่วงมู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ), บางอ บะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส), บาเอ บาเย (ปัตตานี),
อินทนิล (ภาคกลาง), อินทนิลน้ำ (ภาคกลาง, ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ   เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มกลม ลำต้นตรง กิ่งใหญ่แตกออกตามลำต้น
เปลือกหนาสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน เรียบหรือมีปุ่มปม
ต้น : สูง 10 – 15 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ผิวเปลือกนอกสีเทา
ใบ :  ใบเดี่ยว   เรียงตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย  ใบรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกn กว้าง 5-10 เซนติเมตร 
ยาว 11-26 เซนติเมตร  ปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม  โคนใบสอบหรือเบี้ยว แผ่นใบหนาเกลี้ยงเป็นมัน
ดอก : สีม่วงสด ม่วงปนชมพูหรือชมพู   ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามปลายกิ่ง  ช่อดอกออกเอียงๆ ยาว 40 เซนติเมตร  กลีบเลี้ยงด้านนอกมีขนสีน้ำตาล มีสัน 10-14 สัน   ส่วนบนส่วนชองดอกตูม  มีตุ่มกลมเล็ก อยู่ตรงกลาง กลีบเลี้ยง 6 กลีบ
กลีบดอก 6 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-7.5 เซนติเมตร
ผล : ผลแห้งแตก ทรงกลมรี ผิวเรียบและเเข็ง ไม่มีขน กว้าง 1.8-2.2 เซนติเมตร ยาว 2.2-2.6 เซนติเมตร
ผลแแก่เเตกเป็น 6 เสี่ยง เมล็ดมีปีกบาง
ประโยชน์ : ใบชงน้ำดื่มแก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ เปลือกแก้ไข้ แก้ท้องเสีย
ถิ่นกำเนิด
: ที่ราบลุ่มริมน้ำ ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบทั่วไป
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด

ลักษณะวิสัย

กลับหน้าหลัก
ลำต้น
ใบ
ดอก
เมล็ด

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้    อินทนิลน้ำ , ตะแบกดำ     รหัสพรรณไม้   7-50100-001-244