กล่องข้อความ:

บริเวณที่พบ : อุทยานการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติฯ
ชื่อท้องถิ่น : ผักจินดา ผักเชียงดา
ลักษณะพิเศษของพืช : เป็นไม้เลื้อย
ลักษณะทั่วไป
ต้น : เป็นไม้เถาเลื้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-5 ซม. เลื้อยพาดไปตามต้นไม้ใหญ่ ยาวประมาณ 5-10 เมตรมียางสีขาว
ใบ : ใบเดี่ยว รูปกลมรี ปลายแหลม ใบสีเขียวเข้ม ฐานใบแหลมเรียบ ไม่มีขน ขอบใบเรียบ หรือมีคลื่นเล็กน้อย
หน้าใบเขียวเข้มกว่าหลังใบ ใบออกจากข้อเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน
ดอก :ดอก กลมเล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 มม. รวมกันเป็นช่อแน่นสีขาวอมเขียวอ่อน
ประโยชน์ : ทางอาหาร ใช้ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกมีรสขมมีน มาแกงกับปลาแห้ง และสามารถแกงร่วมกับผักเสี้ยวได้
หรือนำมาแกงแคร่วมกับผักชนิดต่าง ๆ ทางยา รักษาหวัดและรักษาไข้ โดยนำมาตำให้ละเอียดแล้วพอกกระหม่อม มีสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด


ลำต้น

กลับหน้าหลัก
ลักษณะวิสัย
ใบ

7-50100-001-085

ชื่อพื้นเมือง

:  ผักเชียงดา

ชื่อวิทยาศาสตร์

Gumnema inodorum (Lour.) Decne.

ชื่อวงศ์

:  ASCLEPIADACEAE

ชื่อสามัญ

:  -

ประโยชน์

:  ใบใช้แก้กามโรคทำให้น้ำเหลืองแห้ง
แก้โรคผิวหนังทุกชนิด ใช้ต้นแห้งหรือสดเป็น
ยาขับปัสสาวะ แก้โรคบิด แก้บวมน้ำ แก้ไอ หลอดลมอักเสบ
ปอดอักเสบ แก้หูขั้นกลาง อักเสบ ริดสีดวงทวาร

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้    ผักเชียงดา     รหัสพรรณไม้   7-50100-001-085