กล่องข้อความ: 		7-50100-001-096  		  ชื่อพื้นเมือง	:  ตะเคียนทอง แคน จะเคียน ตะเคียน ตะเคียนใหญ่  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Hopea odorata Roxb.  ชื่อวงศ์	:  DIPTEROCARPACEAE  ชื่อสามัญ	:  Iron Wood  ประโยชน์	:  แก่นมีรสขมหวาน รักษาคุดทะราด ขับเสมหะ แก้โลหิตและกำเดา แก้ไข้ที่มีอาการแสดงที่ตา เช่น แดง เหลือง หรือขุ่นคล้ำ ยางแห้งบดเป็นผง รักษาบาดแผล  แก้อักเสบ สมานแผล แก้บิดมูกเลือด

บริเวณที่พบ : อาคารวัฒนา
ลักษณะพิเศษของพืช : ให้ร่มเงา, สมุนไพร
ชื่ออื่น : กะกี้ โกกี้ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), แคน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), จะเคียน (ภาคเหนือ),
จูเค้ โซเก (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะเคียนทอง ตะเคียนใหญ่ (ภาคกลาง), ไพร (ละว้า-เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไป
ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กลม หรือรูปเจดีย์ เปลือกหนาสีน้ำตาลดำ
แตกเป็นสะเก็ดกระพี้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลอมเหลือง
ใบ : เป็นใบเดี่ยวรูปไข่แกมรูปหอก หรือรูปดาบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบเรียว โคนใบมนป้านและเบี้ยว
หลังใบมีตุ่มเกลี้ยง ปลายโค้งแต่ไม่จรดกัน
ดอก : ออกดอกขนาดเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อยาวตามง่ามใบและปลายกิ่ง กลิ่นหอม ผล รูปไข่ เกลี้ยง
ปลายมนเป็นติ่งคล้ายหนามแหลม ภายในกลีบรองดอกที่ขยายตัวออกเป็นปีก รูปใบพาย
ขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : อากาศชุ่มชื้น ในช่วงที่ต้นยังไม่โตจะไม่ชอบแสงแดดจัด
ประโยชน์ : เนื้อไม้มีความทนทาน ทนปลวกได้ดี ไสกบตบแต่งและชักเงาได้ดี ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง
ใช้ทำเครื่องเรือน สะพาน ทำเรือ วงกบประตูหน้าต่าง ชันใช้ผสมน้ำมันทาไม้ ทำน้ำมันชักเงา ใช้ยาเรือ

ลักษณะวิสัย

กลับหน้าหลัก
ลำต้น
ใบ

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้     ตะเคียนทอง แคน จะเคียน ตะเคียน ตะเคียนใหญ่     รหัสพรรณไม้   7-50100-001-090